ความสำคัญผิด

ความสำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 156 บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ

ความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมตามวรรคหนึ่ง ได้แก่ ความสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม ความสำคัญผิดในตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม
สำคัญผิดในทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น”

1.การแสดงเจตนาโดยความสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 156

2.การแสดงเจตนาโดยความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะตามมาตรา 157

สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม (มาตรา 156)

“การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมเป็นโมฆะ”

1.การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรมหมายถึง  ผู้ทำนิติกรรมต้องการทำนิติกรรมอย่างหนึ่งแต่แท้จริงแล้วเป็นการทำนิติกรรมอีกอย่างหนึ่งหรือผู้ทำนิติกรรมได้ทำนิติกรรมอย่างหนึ่งโดยเข้าใจว่าเป็นนิติกรรมอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญของนิติกรรม ได้แก่ลักษณะของนิติกรรม,ตัวบุคคลที่เป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรมทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม เป็นต้น ความสำคัญผิดเหล่านี้มีผลทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ

2.การแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในลักษณะแห่งนิติกรรม เช่นโอนที่ดินขายให้ผู้อื่นเพราะไม่รู้หนังสือ โดยมิได้มีเจตนาขายที่ดิน (ฎ.965/30)หรือโจทก์พิมพ์ลายนิ้วมือในเอกสารโดยเข้าใจว่าเป็นหนังสือออกโฉนด แต่เป็นหนังสือยอมแบ่งที่นาให้จำเลย สัญญายอมแบ่งที่นาเป็นโมฆะ  (ฎ.1542/98)หรือลงชื่อในใบมอบอำนาจโดยเข้าใจว่าเป็นใบมอบอำนาจให้เช่านา ความจริงเป็นใบมอบอำนาจให้ขายนา โดยไม่ได้ตั้งใจขายนา การมอบอำนาจเป็นโมฆะ (ฎ.828/08)แต่การจดทะเบียนโอนขายที่ดินเพราะหลงเชื่อว่ามีการโอนเงินค่าที่ดินเข้าบัญชีเงินฝากแล้ว เป็นการแสดงเจตนาทำนิติกรรมเพราะถูกกลฉ้อฉล เป็นโมฆียะตามมาตรา 159 บอกล้างได้ตามมาตรา 75(3)ไม่เป็นโมฆะตามมาตรา 156 (ฎ.7394/50)


4.2
การแสดงเจตนาบกพร่องที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ

นิติกรรมที่เป็นโมฆียะ หมายถึง นิติกรรมที่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายไม่เสียเปล่า แต่จะมีผลใช้บังคับได้อยู่จนกว่าจะถูกบอกล้างโดยผู้มีสิทธิบอกล้างตามกฎหมาย และเมื่อมีการบอกล้างแล้วก็จะทำให้นิติกรรมโมฆียะนั้นตกเป็นโมฆะ แต่หากไม่มีการบอกล้างภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด หรือได้มีการให้สัตยาบันนิติกรรมนั้นหลังจากที่นิติกรรมโมฆียะเกิดขึ้น นิติกรรมโมฆียะนั้นจะมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้ตลอดไป


1.ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 157 บัญญัติว่า “การแสดงโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สินเป็นโมฆียะ

ความสำคัญผิดตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติซึ่งตามปกติถือว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าว  การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้กระทำขึ้น”    ความสำคัญผิด หมายถึง การเข้าใจหรือเชื่อโดยไม่ตรงต่อความเป็นจริง ซึ่งสามารถแบ่งประเภทของความสำคัญผิดในคุณสมบัติได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.1ความสำคัญผิดในคุณสมบัตรของบุคคล
     1)          ถ้าคุณสมบัติของบุคคลนั้นต้องอาศัยความไว้วางใจหรือความชำนาญพิเศษของบุคคลนั้น เช่น สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาตัวแทน  เป็นต้น ตัวอย่างเช่น นายใหญ่ ต้องการช่างประปาฝีมือดีมาทำการวางท่อประปาในโรงงานของตน จึงตกลงจ้างนายเล็ก ซึ่งเข้าใจว่าเป็นช่างประปาที่มีความชำนาญและฝีมือดี แต่ปรากฏว่าเมื่อตกลงกันแล้ว นายเล็กเป็นเพียงช่างไม้ ไม่มีความสามารถและความชำนาญในการวางท่อประปาเลย เช่นนี้เป็นความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคล จึงส่งผลให้สัญญาจ้างนั้นตกเป็นโมฆียะ

2)    คุณสมบัติของคู่กรณีในนิติกรรมบางประเภท       ถือเป็นสาระสำคัญในการทำ

นิติกรรม เช่น คุณสมบัติของผู้เช่าในสัญญาเช่า ผู้เช่าย่อมมุ่งหมายต่อทรัพย์ที่เช่า ส่วนผู้ให้เช่าย่อมต้องการผู้เช่าที่ดีและชำระค่าเช่าตามกำหนด ดังนั้น  ผู้เช่าจะโอนสิทธิการเช่าไปให้บุคคลอื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ให้เช่าไม่ได้ หรือถ้าผู้เช่าตายก็ให้สัญญาเช่านั้นเป็นอันระงับไป
ความสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สิน

คุณสมบัติของทรัพย์จะถือเป็นสาระสำคัญในการทำนิติกรรมหรือไม่   ขึ้นอยู่กับเจตนาของคู่กรณีฝ่ายผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น นายหนึ่ง ต้องการซื้อรถยนต์ของนายสอง โดยเข้าใจว่ารถยนต์ของนายสองสามารถใช้บรรทุกเพื่อวิ่งขนส่งระยะไกลได้ จึงได้แสดงเจตนาซื้อรถยนต์คันดังกล่าวจากนายสอง ในราคา 300,000 บาท  ปรากฏความจริงว่ารถยนต์ดังกล่าวไม่สามารถบรรทุกเพื่อขนส่งระยะไกลได้ แต่สามารถขับได้เพียงระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น และมีสภาพไม่ดี เช่นนี้ จะเห็นได้ว่านายหนึ่งได้สำคัญผิดในคุณสมบัติของรถยนต์ซึ่งเป็นคุณสมบัติปกติ

2.  การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉล

กลฉ้อฉล หมายถึง การหลอกลวงด้วยประการใดๆ ให้ผู้แสดงเจตนาหลงเชื่อและเข้าใจผิดจากความเป็นจริง การแสดงเจตนาเพราะเหตุกลฉ้อฉลแบ่งได้ 3 ประเภทดังนี้

ทำสัญญาซื้อเพชรจากนางแดงอย่างแน่นอน เช่นนี้การหลอกลวงของนางแดงทำให้นางดำหลงเชื่อ และได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมไป นิติกรรมระหว่างนางแดงกับนางดำจึงตกเป็นโมฆียะ

แต่ถ้าข้อเท็จจริงข้างต้นเปลี่ยนไปว่า นางดำซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องเพชร ได้ตรวจสอบดูแล้วรู้ว่าเป็นเพชรเทียม แต่ก็ยังแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมซื้อแหวนเพชรดังกล่าวจากนางแดงแสดงว่ากลฉ้อฉลนั้นไม่ถึงขนาด นิติกรรมจึงสมบูรณ์ไม่ตกเป็นโมฆียะ

กลฉ้อฉลถึงขนาด  หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายหนึ่ง ใช้กลอุบายหลอกลวงคู่กรณี โดยแสดงข้อความที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง ทำให้เกิดการหลงเชื่อ และแสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรมนั้น หากไม่มีการหลอกลวง จะไม่เกิดนิติกรรมขึ้น

กลฉ้อฉลเพื่อเหตุ  หมายถึง การที่คู่กรณีฝ่ายแกลมีเจตนาที่จะทำนิติกรรมนั้นอยู่แล้ว  และคู่กรณีฝ่ายหลังใช้กลอุบายเพื่อเอาเปรียบฝ่ายแรกแล้ว นิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์อยู่

กลฉ้อฉลโดยการนิ่ง
บุคคลภายนอกกับการทำกลฉ้อฉลโดยการนิ่งในกฎหมายฝรั่งเศส “บุคคลภายนอก” คือ
คนที่ไม่ใช่คู่กรณีและเกี่ยวข้องกับคู่กรณีเลย ศาสตราจารย์ ดร.จี๊ด เศรษฐบุตร อธิบายว่า กลฉ้อฉลเป็นการหลอกลวงให้เขาสำคัญผิด กล่าวอีกนัยหนึ่ง กลฉ้อฉลได้แก่สำคัญผิดแต่สำคัญผิดนี้ มิได้เกิดขึ้นโดยความนึกคิดของผู้แสดงเจตนาเอง หากเป็นเพราะมีบุคคลอีกคนหนึ่งหลอสำคัญ
รองศาสตราจารย์ ดร.ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์ ได้ให้ความหมายกลฉ้อฉลว่าการที่บุคคลหนึ่งกระทำการหลอกลวงใดๆก็ตามที่ทำให้บุคคลอีกคนหนึ่งเข้าใจข้อเท็จจริงผิดไปจากความเป็นจริง (คือทำให้เขาสำคัญผิด)
แล้วผู้ถูกหลอกลวงได้แสดงเจตนาเข้าทำนิติกรรม ซึ่งมิฉะนั้นแล้วจะไม่ทำหรืออาจจะทำในเงื่อนไขที่แตกต่างออกไป

3.การแสดงเจตนาเพราะเหตุข่มขู่
หมายถึง การกระทำให้เกิดความเกรงกลัว ไม่ว่าจะข่มขู่โดยวิธีใด ให้ผู้ถูกข่มขู่เกิดความกลัวว่าจะเกิดภัยขึ้นแก่ตน จนต้องแสดงเจตนาทำนิติกรรมนั้นไปตามที่ถูกข่มขู่ สำหรับวิธีการข่มขู่นั้นอาจทำได้ในโดยทางวาจา หรือโดยทางลายลักอักษร หรือโดยกิริยาอาการที่เป็นการข่มขู่  ทั้งการข่มขู่นั้นอาจขู่ว่าจะทำร้ายร่างกายให้ถึงแก่บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต เช่น  แดง ต้องการจะซื้อที่ดินของ ดำ ซึ่งอยู่ริมชายหาด แต่ดำไม่ยอมขายให้ แดงจึงกล่าวว่าหากไม่ขายจะฆ่าดำเสีย เช่นนี้นิติกรรมการซื้อที่ดินก็ตกเป็นโมฆียะ
การข่มขู่จะต้องถึงขนาด  กล่าวคือ  ร้ายแรงและเป็นอันตรายจนน่าเกิดภัย
ภัยที่ขู่นั้นต้องใกล้จะถึง  กล่าวคือ  กำลังจะเกิดขึ้นในขณะนั้นเอง และ ผู้ถูกข่มขู่ไม่อาจหาทางลีกเลี่ยงหรือป้องกันได
ภัยที่ขู่จะต้องร้ายแงอย่างน้อยเท่ากับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
การข่มขู่ในที่นี้หมายความถึง การใช้อำนาจบังคับจิตใจขอลบุคคลเพื่อให้เกิดความกลัวแล้วแสดงเจตนาทำนิติกรรมออกมาตามที่ผู้ข่มขู่ต้องการ เป็นเหตุให้นิติกรรมตกเป็นโมฆียะ
มาตรา ๑๖๔ การแสดงเจตนาเพราะถูกข่มขู่เป็นโมฆียะ
การข่มขู่ที่จะทำให้การใดตกเป็นโมฆียะนั้น จะต้องเป็นการข่มขู่ ที่จะให้เกิดภัยอันใกล้จะถึง และร้ายแรงถึงขนาดที่จะจูงใจให้ผู้ถูก ข่มขู่มีมูลต้องกลัวซึ่งถ้ามิได้มีการข่มขู่เช่นนั้น การนั้นก็คงจะมิได้ กระทำขึ้น
จะเห็นว่าเหตุให้การแสดงเจตนาเป้นโมฆียะ ต้องมีลักษณะ ดังนี้
๑. เป็นการข่มขู่ว่าจะทำให้เกิดภัย ซึ่งภัยนั้น อาจเป็นภัยแก่ตัวผู้ถูกข่มขู่หรือบุคคลในครอบครัว หรือทรัพย์สินของผู้ถูกข่มขู่ แล้วแต่กรณี
๒.ภัยที่ข่มขู่ว่าจะก่อขึ้นนั้นต้องเป็นภัยอันใกล้จะถึง คือภัยที่กำลังจะเกิดขึ้นและผู้ถูกข่มขู่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงป้องกันได้